Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

10. การบีบอัดข้อมูลแบบ MPGE คืออะไร มีมาตรฐานใดบ้างที่รองรับ

MPEG คืออะไร

MPEG ย่อมาจาก Motion Picture Experts Group ซึ่ง MPEG เป็นกลุ่มของคณะกรรมการที่ทำงานภายใต้องค์การมาตรฐาน ISO ( International Standards Organization ) เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับการบีบอัดข้อมูลวิดีโอและออดิโอแบบดิจิตอล ( digital data compression ) ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานสำหรับการกำหนดรูปแบบของสายข้อมูลระดับบิตของวิดีโอและออดิโอ และรวมไปถึงวิธีการขยายกลับข้อมูลที่ถูกบีบอัด ส่วนวิธีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอและออดิโอแบบดิจิตอลนั้น MPEG ก็มีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้เช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติบริษัทที่ทำกิจการด้านนี้หรือโปรแกรมเมอร์ที่สนใจ สามารถที่จะสร้างอัลกอริทึม การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่แตกต่างไปจากมาตรฐาน MPEG ได้เช่นกัน
สำหรับในปัจจุบัน MPEG ได้มีการพัฒนามาเป็นมาตรฐาน MPEG Layer3 ซึ่งเป็นอัลกอริทึมการบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ประสิทธิภาพมาก โดยที่การบีบอัดข้อมูลดิจิตอลที่ระดับความถี่ 44.1 KHz จะสามารถบีบอัดข้อมูลเสียงให้มีขนาดเล็กลงกว่าข้อมูลเสียงต้นแบบมากถึง 12 เท่า โดยที่ไม่มีการสูญเสียคุณภาพของเสียงแต่ประการใด ซึ่งโปรแกรมที่สนับสนุน MPEG Layer3 ในปัจจุบันผู้อ่านก็สามารถทำการดาวน์โหลดได้จากอินเทอร์เน็ต

วารสาร ไมโครคอมพิวเตอร์ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2541
       Last update: 14/07/1999
         http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/mpeg.htm

มาตรฐานที่รองรับ
MPEG - 1 เป็นมาตรฐานสำหรับการบีบอัดภาพและเสียงแบบสูญเสียความละเอียดเล็กน้อย โดยมาตรฐานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อบีบอัดข้อมูลที่เป็นวิดีโอดิจิตอล และข้อมูลที่เป็นเสียงลงให้เหลือ 1.5 Mbit / s (บีบอัดในอัตราส่วน 26:1 และ 6:1 ตามลำดับ) โดยไม่ทำให้สูญเสียคุณภาพหลังการบีบอัดมากเกินไป ซึ่งสื่อที่ใช้มาตรฐานนี้ ได้แก่ Video-CD ,ทีวีผ่านดาวเทียม เป็นต้น   ทุกวันนี้มาตรฐาน MPEG-1
เป็นมาตรฐานการบีบอัดภาพและเสียงที่ได้รับความนิยมมาก และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยมาตรฐานนี้ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีต่างๆ เป็นจำนวนมาก อย่างเช่นมาตรฐานของ  การบีบอัดไฟล์เสียงมาตรฐานหนึ่งที่ทุกคนรู้จักกันดี นั่นคือ MP3 ก็เป็นส่วนหนึ่งในหลายๆ ส่วนของมาตรฐาน MPEG-1   มาตรฐาน MPEG-1 ถูกเผยแพร่ออกภายใต้ชื่อ ISO / IEC 11172 – การเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหวและเสียง
สำหรับสื่อเก็บข้อมูลดิจิตอลที่มีบิตเรทอยู่ที่ 1.5 Mbit/s ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกแบบออกเป็น 5 ส่วน (Parts) ดังนี้
1. Systems (เก็บข้อมูลและทำการ Sync ข้อมูลระหว่างภาพ เสียง และข้อมูลอื่นๆ )
2. Video (บีบอัดข้อมูลวิดีโอ)
3. Audio (บีบอัดข้อมูลเสียง)
4. Conformance testing (ทดสอบความถูกต้องในการดำเนินการ)
5. Reference software (ซอฟท์แวร์ตัวอย่างที่แสดงวิธีการเข้ารหัสและถอดรหัส)




               ส่วนที่ 3 ในมาตรฐาน MPEG – 1 นั้น ถูกกำหนดให้ใช้ชื่อ ISO/IEC-11172-3 โดยในส่วนนี้จะรับผิดชอบในเรื่องของการบีบอัด เข้ารหัสข้อมูลที่เป็นข้อมูลเสียง (Audio) โดยจะทำการลดอัตราข้อมูลใน Audio Stream ด้วยวิธีการละทิ้งความถี่บางช่วง รายละเอียดบางส่วนที่หูมนุษย์ไม่สามารถรับฟังได้ 
MPEG – 1 Audio ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้น (Layer) โดยยิ่งลำดับชั้นสูงขึ้นไป ก็จะยิ่งมีกระบวนการประมวลผล เข้ารหัส ที่ซับซ้อนกว่า และมี bit rate ที่ต่ำกว่าชั้นก่อนหน้านี้ โดยในลำดับชั้นที่สูงกว่าจะสามารถรองรับเทคโนโลยีจากชั้นที่ต่ำกว่าได้ เช่น Decoder ของลำดับชั้นที่ 2 (Layer 2) สามารถเล่นไฟล์เสียงจากลำดับชั้นที่ 1 (Layer 1) ได้ แต่ไม่สามารถเล่นไฟล์เสียงจากลำดับชั้นที่ 3 (Layer 3) ได้ ในขณะที่ลำดับชั้นที่ 3 (Layer 3) สามารถเล่นได้ทั้งหมด   การบีบอัดข้อมูลเสียงแบบ MP3 ที่ทุกคนรู้จักกันดีนั้น แท้จริงแล้วก็คือ การบีบอัดใน Layer 3 ของมาตรฐาน MPEG – 3 Part 3 นั่นเอง มิใช่ MPEG – 3 แบบที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด
           สมาชิกในกลุ่ม
MPEG – 1 Part 2
MPEG – 1 Part 1 
               Part แรกของมาตรฐาน MPEG-1 คือมาตรฐานที่ครอบคลุมในเรื่องของระบบต่างๆ ภายใต้ชื่อ ISO/IEC-11172-1 โดยจะเป็นตัวกำหนดเค้าโครงของข้อมูลและวิธีการเก็บบันทึกข้อมูลวิดีโอ ข้อมูลเสียง และข้อมูลอื่นๆ ที่ถูกเข้ารหัสแล้ว ให้อยู่ในรูปของบิตสตรีมที่เป็นมาตรฐาน สามารถเชื่อมโยงกันได้ระหว่างเนื้อหาข้อมูลที่ต่างกัน โดยรูปแบบของข้อมูลนั้นถูกออกแบบมาสำหรับการเก็บข้อมูลลงในสื่อต่างๆ และการส่งข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ มาตรฐานนี้ไม่มีการตรวจสอบและป้องกันข้อผิดพลาดมากนัก โดยหากมี error เพียงน้อยนิดก็สามารถเห็นข้อบกพร่องของข้อมูลได้อย่างชัดเจน
MPEG – 1 Part 4

             ในส่วนที่ 4 นั้นจะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องสอดคล้องของข้อมูล โดยมาตรฐานส่วนนี้ถูกกำหนดให้ใช้ชื่อ ISO/IEC-11172-4 
           วิธีการทดสอบความสอดคล้องกันนั้น จะมีการกำหนด guidelines และ reference bit streams เพื่อใช้ในการทดสอบความสอดคล้องของข้อมูล ตลอดจน bit streams ที่ถูกสร้างโดย encoder
MPEG – 1 Part 5


http://www.itexcite.com/article/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-MPEG%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
             ส่วนที่ 5 นั้น เป็นมาตรฐานของซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการอ้างอิง ถูกกำหนดภายใต้ชื่อ ISO/IEC TR 11172-5 ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้ก็ได้แก่ โค้ดอ้างอิงภาษา C ที่ใช้ในการเข้ารหัส (encoding) การถอดรหัส (decoding) ของข้อมูลวิดีโอ และ ข้อมูลเสียง ตลอดจนการมัลติเพลก และการดีมัลติเพลก


1. น.ส รัชดาภรณ์  จิตรณรงค์ ห้อง 2
2. น.ส พรพิมล  หงอสกุล ห้อง 2
3. น.ส สมถวิล  แป้นลาภ ห้อง 2
4. น.ส กมลทิพย์  นุ่มกลาง ห้อง 2
5. น.ส สุนิษา  ตุ้มตระกูล ห้อง 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น